วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รายชื่อนักศึกษาระดับปวส.1 สทส.1

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีภาคเรียนที่1/2554
ลำดับ ชื่อ-สกุล ชื่อเว็บไซต์บล็อก
1นางสาววิภา ธรรมวงค์
http://wipa2244.blogspot.com/
2นายศิริศักดิ์ วิสัย
http://sirisakwisai.blogspot.com/
3นางสาวเกศริน บุญสา
http://kboonsa.blogspot.com/
4นางสาวนิรมล ยิ้มเรือง
http://iceniramon.blogspot.com//
5นางสาววาสนา หิรัฐมูล
http://parela20.blogspot.com/
6นายภานุภันธ์ ปราณี
http://panupan32.blogspot.com/
7นายขันติ เข็มทอง
http://jojoget777.blogspot.com/
8นางสาวพิมชนก เจริญสุข
http://furnpimchanok.blogspot.com/
9นายเอกชนะ พรกฤษฎานันท์
http://tongplaying.blogspot.com/
10นายธันวา ไชยเดช
http://jonaja.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิชา การโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่1

แบบฝึกหัดที่ 1

วิชา สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดที่ 1

วิชา ออกแบบพัฒนาเว็บ

แบบฝึกหัดที่ 1

วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 1




1. จงอธิบายวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างละเอียด
ตอบ       ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

2. จงระบุองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ        องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (
Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)

ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5
ส่วน คือ

อุปกรณ์รับข้อมูล (
Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)

อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer),
และเทอร์มินัล

หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล

หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล

หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต

3. คุณลักษณะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีมีอะไรบ้าง
ตอบ        ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
§  เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

4. จงบอกประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมาอย่างน้อย 5 อย่าง  
ตอบ        1.  เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องทำงานแข่งขันกับเวลาจึงนำเอาเทคโนโลยีระบบสื่อสารมาประยุกต์ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ควบคุมการปิด-เปิดไฟฟ้าในบ้านผ่านโทรศัพท์ ควบคุมระบบปรับอากาศ ตรวจสอบหมายเลขเรียกเข้าของโทรศัพท์ในบ้าน เป็นต้น
                  2. ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศที่กระจายไปทั่วทุกแห่งทำให้ทุกคนที่สนใจมีโอกาสในการเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน เช่น ระบบการเรียนการสอนทางไกล ระบบอินเทอร์เน็ตตำบล ช่วยให้เกษตรกรรู้ความเคลื่อนไหวของราคาผลผลิตในแต่ละวัน แพทย์สามารถให้การรักษาพยาบาลกับผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลโดยตรวจอาการผ่านกล้องวีวิโอจากระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
                  3. ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนระบบคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายด้านการศึกษาต่าง ๆ เช่น โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยผ่านหมายเลขพระราชทาน 1509 หรือ SchoolNet ทำให้ทั้งนักเรียนและครูสามารถสืบค้นข้อมูลและสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการเรียนการสอนช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก
                  4. ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ป่า เขา แม่น้ำและทะเลถูกทำลายไปโดยฝีมือมนุษย์มากมาย ในการดูแลและบำรุงรักษาต้องใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล เช่น ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมตรวจสอบสภาพการถูกทำลาย การตรวจสอบเขตป่าสงวนด้วยเครื่องบอกตำแหหน่งผ่านดาวเทียมทำให้ทราบว่าที่ใดอยู่ในเขตพื้นที่สงวนการเก็บข้อมูลและตรวจวัดคุณภาพของน้ำในแม่น้ำลำคลอง และทะเลตลอดจนวัดมลภาวะในอากาศทำให้ทราบว่ามีที่ใดปล่อยสารพิษออกมาสู่สภาพแวดล้อม เป็นต้น
                  5. ประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศ อาวุธที่ใช้ทางการทหารยุคใหม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เช่น จรวดที่สามารถวิ่งเข้าหาเป้าหมายได้อย่างอัตโนมัติ ระบบการเฝ้าระวังการถูกรุกรานที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
                  6. ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม การผลิตสินค้าและการจำหน่ายสินค้ามีการแข่งขันกันในตลาดโลกอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผลิตสินค้าได้จำนวนมากและราคาถูกลง การจำหน่ายสินค้าต้องกระจายสารสนเทศของสินค้าและการบริการไปยังลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว


5. จงบอกภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศความความเข้าใจ
ตอบ       อันตรายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ก้าวเข้ามาในชีวิตประจำของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในระดับบุคคลจนถึงองค์กร และระดับชาติ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันดีเกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่สิ่งใดก็ตามไม่ใช่มีเฉพาะด้านดีเพียงด้านเดียว เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เช่นกัน ย่อมมีผลกระทบต่อมนุษย์และองค์กรในด้านร้ายได้เช่นกัน โดยส่วนมากอันตรายจากไอที มักจะเกี่ยวข้องกับ
                การขัดขวางการใช้ไอทีในเวลาที่ต้องการใช้งาน
                การลิดรอนระบบ
สารสนเทศ
                การสร้าง/ส่งข้อมูลลวง
                การล้วงข้อมูลมาใช้งาน
ซึ่งอันตรายดังกล่าวมีผลกระทบได้ตั้งแต่ระดับเล็ก จนถึงระดับชาติได้ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวสามารถกระทำได้ทั้งจากระดับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการติดต่อสื่อสาร และบุคคลภายในองค์กรนั้นๆ โดยสามารถสรุปรูปแบบการก่อเหตุให้เกิดอันตรายได้ดังนี้
ผู้ใช้เถื่อน - ได้แก่ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานระบบ แต่อาศัยความสามารถพิเศษทางด้าน
เทคโนโลยีทำการเจาะระบบป้องกันต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลักลอบล้วงข้อมูล ทั้งที่เป็นความลับและไม่ใช่ความลับ และอาจจะก่อความเสียหายให้กับข้อมูลทั้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูล จนถึงการลบข้อมูล และการทำลายระบบ
ผู้ใช้ภายในระบบ - ได้แก่ผู้ใช้ที่มีสิทธิในระดับ แต่เป็นสายหรือทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง


6. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ตอบ        จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
                1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
          2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
        3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
        สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี


                นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
                1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่มั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ

วิชา ระบบฐานข้อมูล


วิชาระบบฐานข้อมูล

ความหมายของฐานข้อมูล (Database) 
ฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กั 
ระบบฐานข้อมูล หมายถึง  ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันรูปแบบเป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน
 ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS)Database Management System
 หมายถึง  โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะ ข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล   
  เสมือนเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้กับฐานข้อมูล                      






1.สรุปเนื้อหาหน่วยที่1
ระบบฐานข้อมูลคือระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันโดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกันทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูลก็สามารถทำได้โดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูล คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ฐานข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกลงในฐานข้อมูลกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้ได้แบบใด
ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล
    เมื่อมีการนำระบบจักการฐานข้อมูลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลแก้ไขปรับปรุงข้อมูลค้อนหาข้อมูลรวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลเป็นต้นทำให้ฐานข้อมูลมีประโยชน์มากมายได้แก่
1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันหลายส่วนเช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และฝ่ายบุคคล เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลจะทำให้ไม่เก็บข้อมูลซ้าซ้อนกัน
2.ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายบุคคล ชื่อและที่อยู่ที่ฝ่ายบัญชีก๊จะถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย เนื่องจากฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อและที่อยู่จากฝ่ายบุคคลมาใช้ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่งข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
3.ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฏเกณฑ์เพื่อให้มีความถูกต้อง
4.สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลเดียวกันจะสามารถกำหนดรูปแบบที่แน่นอได้และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน
5.มีความปลอดภัย การที่ใช้ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามรถวางมาตรฐานในการแก้ไขและป้องกันได้ดีกว่า สามารถกำหนรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละรายโดยระบบจัดการฐานข้อมูลจะทการตรวจสอบสิทธิ์ในการทำงานกับข้อมูล
6.ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลงรูปแบบการเก็บอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ทำให้ไม่เวลาในการพัฒนาระบบฐานระบบ
7.ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย  เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ
       แต่อย่างไรก็ตามในการฐานข้อมูลนั้น ถึงแม้ว่าการประมวลผลด้วยระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
1.เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีราคาค่อนข้างแพงรวมทั้งเครื่องพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง
2.เกิดความสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้ามีการจัดเก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ
หลักออกแบบฐานข้อมูล
ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อน ว่าข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้างและมีการจัดเก็บในรูปแบบใดแล้วค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลซึ่งขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นมีข้อมูลนั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล ว่าต้องการใช้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด
2.กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูล
3.สอบถามความต้องการของผู้ใช้ว่าจะต้องป้อนข้อมูลใดบ้างเข้าสู่ระบบ และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาจากระบบว่าต้องการอะไรบ้าง
4.วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5.จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บในระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตารางโดยพจารณาจากความสัมพันธ์ว่าเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่
6.วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง เพื่อกำหนดเขคข้อมูลหรือฟิลต์ข้อมูลให้ครบถ้วน
7.พิจารณาเขตข้อมูลหลักหรือฟิลต์หลักของแต่ละตาราง
8.วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลที่ได้ตามหลักการNormalization เพื่อให้ได้ตารางข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนและถูกต้อง
9.กำหนดชนิดข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บว่าอยู่ในรูปแบบใด
10.กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล
11.ออกแบบหน้าจอการใช้งาน
กฎการ Normalization
กฎการ Normalization เป็นกฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง เพื่อลดความซ้ำซ้อนNormalization แก้ไขตารางได้ง่ายและถ้าเปลี่ยนแปปลงข้อมูล จะมีผลกระทบต่อข้อมูลอื่นน้อยที่สุด โดยทั่วไปแล้ว เราใช้กฎ Normalization เพียง3ข้อ ก๊เพียงพอในการออกแบบตารางโดยทั่วไปแล้วจากละเอียดทั่งหมด4ข้อดังนี้
1.กฎข้อที่ 1กล่าวว่าจะต้องไม่มีเซลล์ใดในตารางที่มีค่าเกิน1ค่า ดังนั้นเราสามารถทำให้ตารางผ่านกฎข้อที่1 ได้โดยการแยกเซลล์ที่มีค่าเกินหนึ่งออกเป็นเรคอร์ดใหม่
2.กฎขอที่ 2กล่าวว่าตารางที่ผ่านที่ผ่านกฎข้อที่2จะต้องไม่มีแอตตริบิวต์ หรือฟิลต์ที่ไม่ใช้คีย์หลักไปผสมหรือปนอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลักจะต้องมีคีย์หลักเต็มๆ เท่านั้น
3.กฎข้อที่ 3กล่าวว่าตารางที่ผ่านกฎข้อที่3จะต้องไม่มีแอตตริบิลต์ใดที่ขึ้นกับแอตตริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก การแก้ไขให้ผ่านกฎข้อนี้ทำได้โดยแยกตารางออกมาสร้างตารางใหม่
4.กฎข้อที่ 4กล่าวว่าตารางที่ผ่านกฎข้อที่4จะต้องไม่มีการขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่ม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบMany-to-Manyภายในตารางเดียวกัน
ความสามารถของMicrosoft Access2007
1.สร้างแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลต่างๆเช่น ฐานข้อมูลพนักงาน ฐานข้อมูลสินค้า ฐานข้อมูลนักเรียนเป็นต้น
2.สามารถสร้างตารางเก็บข้อมูลและออกแบบโครงสร้างของข้อมูลได้
3.มีเครื่องมือที่ช่วยในการสอบถามข้อมูลจากฐานข้อมูลและสามมารถคำนวณหาผลพันธ์ได้อีกด้วย
4.มีเครื่องฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น
5.สามารถสรุปรายงานออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ
6.มีแม่แบบและเครื่องช่วยที่ช่วยในการสร้างฐานข้อมูลให้สะดวกยิ่งขึ้น
7.สามารถนำข้อมูลเข้าจากฐานข้อมูลอื่นหรือส่งข้อมูลออกไปยังฐานข้อมูลอื่นได้
8.สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยWindows SharePoint Services เพื่อแบ่งปันข้อมูลAccess 2007 กับทุกคนในทีมได้



วิชา การโปรแกรมเว็บ 1

แบบฝึกหัดบทที่ 1